วันอาทิตย์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2554

อบรมพัฒนาการวิจัยสู่ความเป็นเลิศ ณ พิษณุโลก















8-11 สิงหาคม 2554 ข้าพเจ้าพร้อมคณะ ประกอบด้วย ท่านประทาน หาดยาว รองผอ.สพป.มส.2 ท่านสมคิด ศรีธร ศึกษานิเทศก์ ท่านบำรุงศักดิ์ บูระสิทธิ์ ผอ.โรงเรียนบ้านเลโค๊ะ ได้เข้าร่วมอบรมโครงการพัฒนาผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสู่ความเป็นเลิศ จุดที่ 3 ณ โรงแรมน่านเจ้า จังหวัดพิษณุโลก ตามหลักสูตรการวิจัยสู่ความเป็นเลิศ ซึ่งกำหนดการจัดกิจกรรม 3 วัน



วันแรก ได้เรียนรู้และมีความกระจ่างชัดในเรื่องนวัตกรรมทางการศึกษาจากท่าน รศ.ดร.รัตนะ บัวสนธ์ ดังนี้



1.นวัตกรรมแบ่ง 2 อย่าง คือ



รูปธรรม ได้แก่ แบบฝึก ชุดฝึก CAI ที่สามารถสัมผัสจับต้องได้ ครูผู้สอนส่วนใหญ่นิยมใช้นวัตกรรมประเภทนี้



นามธรรม ได้แก่ เทคนิค วิธีการ รูปแบบ แนวคิด ซึ่งไม่สามารถสัมผัสได้โดยตรง ส่วนใหญ่เป็นนวัตกรรมทางการบริหาร



2. การหาประสิทธิภาพ



รูปธรรม ใช้ E1/E2



นามธรรม ใช้ผู้เชี่ยวชาญ ตรวจสอบความเหมาะสม ความเป็นไปได้ของนวัตกรรม เช่น การสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ



3. ฐานคิดของการเขียนรายงานนวัตกรรมนั้น ใช้วงจร R&D เริ่มจาก



3.1 ศึกษา สำรวจปัญหา .......นำไปสู่การค้นพบปัญหา (โรคที่ต้องรักษา)



3.2 การสร้างนวัตกรรม.....หาและสร้างยารักษาโรค



3.3 การทดลองใช้และพัฒนา....การนำยาไปใช้รักษาโรคของผู้ป่วย เก็บข้อมูลเพื่อพัฒนายาให้มีประสิทธิภาพสูงสุด



3.4 การประเมินและปรับปรุง....ตรวจสอบ ว่า ยา ที่สร้างขึ้น รักษาโรค ได้ดีเพียงใด จะเพิ่มประสิทธิภาพและให้เกิดประสิทธิผลสูงสุดได้อย่างไร พร้อมกับการเขียนรายงาน ให้คนทราบ



4. รูปแบบการเขียนรายงานในแต่ละขั้นของ R&D นั้น ต้องให้สอดคล้อง ร้อยรัดกัน ซึ่งแต่ละขั้น ควรเขียนองค์ประกอบด้งนี้



แหล่งข้อมูล



เครื่องมือในการเก็บข้อมูล



การหาประสิทธิภาพของเครื่องมือ



การวิเคราะห์ข้อมูล



วันที่ 2 นั้น ท่าน ดร.สมเดช สีแสง ผอ.สพป.นครสวรรค์ 3 ได้บรรยาย เกี่ยวกับเกณฑ์ของวิทยะฐานะต่างๆ ได้เรียนรู้ดังนี้



1. เกณฑ์การให้คะแนนด้านต่างๆ มีความสำคัญ งานทุกชิ้นที่เขียน ต้องยึดเกณฑ์เป็นสำคัญ



2. เอกสารขอวิทยะฐานะ ต้องมีการรวบรวม จัดเก็บ และเขียนอย่างเป็นระบบ



3. ค่อยๆ เก็บสะสม ไปเรื่อยๆ งานทุกอย่างต้องอาศัยเวลาเป็นเหตุปัจจัย



4. การคิดเชิงระบบ มีความสำคัญ เพราะจะนำมาสู่การวิเคราะห์รายละเอียดต่างๆ ยิ่งมองภาพรวมได้ชัดเจน ยิ่งเห็นรายละเอียดถี่ถ้วน



5. ด้าน 1-2 เวลาเขียนให้ร้อยรัดกับผลงานทางวิชาการ ด้าน 3



ฯลฯ






























ภาพ ข้าพเจ้า ได้สอบถามปัญหาและข้อสงสัยต่างๆ หลังการอบรม






วันที่ 3 ข้าพเจ้า พร้อมคณะได้นำเสนอความคืบหน้าของงานวิจัย ให้กับผู้เชี่ยวชาญได้วิพากษ์วิจารณ์ ชี้แนะและเติมเต็มประเด็น ได้รับเกียรติจากท่าน ดร.ปกรณ์ กล้าผจญ คณาจารย์ ม.นเรศวร ท่านชี้แนะดังนี้



1. ความชัดเจนของ ปัญหา



2. ความสอดคล้องของ ยาที่จะใช้รักษาโรค



ฯลฯ
































ปล. ต้องขอขอบพระคุณ ท่าน ประสงค์ สุภา ผอ.สพป.มส.2 ที่ให้โอกาสดีๆ ในการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง ขอขอบพระคุณท่าน รอง ประทาน หาดยาว ที่เห็นหัวหน้าทีมในการเรียนรู้และให้การดูแลพวกเราตลอดหลักสูตร ขอบคุณกัลยาณมิตรทุกคนที่พานพบ เราได้เรียนรู้ร่วมกัน เพื่อรังสรรค์ให้โลกงาม....



พบกันใหม่ เดือนหน้าที่ ขอนแก่นครับ














ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น